Disclaimer: This is a user generated content submitted by a member of the WriteUpCafe Community. The views and writings here reflect that of the author and not of WriteUpCafe. If you have any complaints regarding this post kindly report it to us.

บุหรี่ไฟฟ้าคือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้แบตเตอรี่ในการทำงานเพื่อสร้างความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น นิโคติน (Nicotine) โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) กลีเซอรีน (Glycerine) สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) และน้ำ เมื่อเปิดเครื่องจะมีไฟสีแดงขึ้นพร้อมกับการทำงานของแบตเตอรี่ เกิดความร้อนทำให้น้ำยาที่บรรจุอยู่ภายในระเหยขึ้นมาเป็นควัน เมื่อสูบเข้าไปในปอดร่างกายจะได้รับนิโคตินก่อนที่จะถูกพ่นออกมา ไม่มีควันจากการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป บุหรี่ไฟฟ้าจึงไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

บุหรี่ไฟฟ้า

ใครที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมและมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นทั้งผู้ที่เคยสูบบุหรี่แบบปกติทั่วไป และผู้ที่เริ่มต้นหรือทดลองสูบบุหรี่ จากสถิติการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน (National Youth Tobacco Survey) จากจำนวนนักเรียน 2 ล้านคน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2557 พบว่า ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปลายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 13 และในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมต้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวภายใน 1 ปี ในประเทศไทยยังไม่มีการอนุญาตให้จำหน่ายหรือนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า มีเพียงการลักลอบจำหน่ายในตลาดมืดจึงทำให้ยากต่อการเก็บข้อมูลทางสถิติ

คนอีกกลุ่มที่พบว่าใช้บุหรี่ไฟฟ้าคือ ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ จากกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันในรัฐแคลิฟอร์เนียจำนวน 1,000 คนที่มีพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันเป็นเวลา 1 ปี พบว่าร้อยละ 60 มีแนวโน้มที่จะเลิกสูบบุหรี่และลดปริมาณในการสูบ แต่ Dr. Wael Al-Delaimy อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและสาธารณสุข คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ไว้ว่า จากการวิจัย การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจจะไม่ได้ช่วยให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ หนึ่งในตัวแปรสำคัญคือปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสารเสพติดให้โทษเช่นเดียวกันกับที่พบในบุหรี่ปกติทั่วไป และเรื่องนี้ยังจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานการผลิตที่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน จึงทำให้ยากที่จะตอบได้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายบุหรี่ปกติทั่วไป หรืออาจดัดแปลงให้มีลักษณะต่างออกไป ซึ่งส่วนประกอบหลักของบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่ (Battery) ตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และตลับเก็บน้ำยา (Cartridge)

บุหรี่ไฟฟ้าจะทำงานได้ไม่เต็มรูปแบบถ้าขาดน้ำยาสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า (E-Liquid หรือ E-Juice) ซึ่งบรรจุอยู่ในตลับเก็บน้ำยาเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการทำความร้อนก่อนกลายเป็นไอที่ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูบเข้าไปในปอด ส่วนผสมที่พบมากในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice มีดังนี้

นิโคติน (Nicotine) เป็นสารสกัดจากใบยาสูบและเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ปกติทั่วไป นิโคตินจะทำให้ร่างกายเสพติดการใช้บุหรี่ และจะเข้าไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ ระดับนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ เปอร์เซ็นต์ มิลลิกรัม และระดับความเข้มข้น ได้แก่ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ

โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) เป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหาร ยา และเครื่องสำอาง รวมถึงนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างไอหรือหมอกสำหรับเวทีการแสดงต่าง ๆ แต่เมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ดวงตาและปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง

กลีเซอรีน (Glycerine) เป็นสารที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่มีรสชาติหวานเล็กน้อย องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย เช่นเดียวกันกับโพรไพลีนไกลคอล

สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารทั่วไป มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น สารไดอะซิติล (Diacetyl) ที่พบมากในเนยสำหรับทำป็อปคอร์น อาจเป็นสาเหตุของปัญหาระบบทางเดินหายใจและปอด

ประเภทของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ แต่แบ่งได้ 3 รูปแบบคือ แบบที่ 1 (Cigalike) แบบที่ 2 (eGos) และแบบที่ 3 (Mods) โดยมีรายละเอียดดังนี้

บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 1 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Cigalike มีรูปลักษณ์ภายนอก ทั้งรูปทรงและขนาดที่คล้ายกับบุหรี่ปกติทั่วไป แต่จะมีตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อนเพิ่มเข้ามา

บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 2 หรือที่รู้จักกันในชื่อ eGos มีลักษณะคล้ายบุหรี่ปกติทั่วไปเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หรือมีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป และมีตัวถังที่สามารถถอดออก และเติม E-Liquid หรือ E-Juice ที่มีระดับนิโคติน หรือรสและกลิ่นต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 3 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mods มีลักษณะคล้ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบ eGos แต่มีขนาดใหญ่กว่า และสามารถปรับแรงดันไฟฟ้า ขนาดของตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อน รวมถึงขนาดและปริมาณของ E-Liquid หรือ E-Juice ได้ตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

ข้อดีของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 2 หรือที่รู้จักกันในชื่อ eGos มีลักษณะคล้ายบุหรี่ปกติทั่วไปเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หรือมีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป และมีตัวถังที่สามารถถอดออก และเติม E-Liquid หรือ E-Juice ที่มีระดับนิโคติน หรือรสและกลิ่นต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 3 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mods มีลักษณะคล้ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบ eGos แต่มีขนาดใหญ่กว่า และสามารถปรับแรงดันไฟฟ้า ขนาดของตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อน รวมถึงขนาดและปริมาณของ E-Liquid หรือ E-Juice ได้ตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

ข้อดีของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้ามีข้อดีที่แตกต่างจากการใช้บุหรี่ปกติทั่วไป เช่น บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีควันจากการเผาไหม้เหมือนในบุหรี่ปกติทั่วไป ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) หรือสารพิษอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ ยังตรวจพบสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าบุหรี่ปกติทั่วไปอีกด้วย

กระทรวงสาธารณสุข ประเทศอังกฤษได้เปิดเผยหลักฐานเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าว่ามีความปลอดภัยมากกว่าการใช้บุหรี่ปกติทั่วไปสูงถึง 95% และมีประสิทธิภาพในการช่วยให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ สาเหตุสำคัญคือในบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนประกอบของใบยาสูบ มีเพียงนิโคตินที่เป็นสารเสพติดแต่ให้โทษน้อยกว่าใบยาสูบ ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่เสพติดนิโคติน

องค์การอาหารและยาพบร่องรอยของสารพิษ 0.1% ในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice เช่น สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) และสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง และก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย เช่น ปากแห้ง ระคายเคืองในลำคอ ไอแห้ง เป็นต้น

แต่ยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยที่สรุปอย่างชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้จริง และในหลายประเทศการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าถือว่าผิดกฎหมาย รวมถึงประเทศไทยด้วย

ข้อเสียของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

 ใบยาสูบคือสิ่งที่ทำให้บุหรี่ปกติทั่วไปแตกต่างจากบุหรี่ไฟฟ้า แต่นิโคตินยังคงเป็นส่วนประกอบหลักในบุหรี่ไฟฟ้าและเป็นสารเสพติดที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น กระตุ้นสมอง ทำให้เกิดอาการมึนงง กระตุ้นหัวใจทำให้อัตราการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจทำงานหนัก เกิดภาวะหัวใจวาย ทำให้เส้นเลือดหดตัวซึ่งส่งผลให้เกิดความดันในเลือดสูงขึ้น เส้นเลือดในสมองแตก ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ หายใจเร็ว เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด มีความผิดปกติทางอารมณ์

สมาธิและความคิด ปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่ถึง 10 ปี แพทย์จึงยังไม่ทราบผลเสียหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายในระยะยาว

Login

Welcome to WriteUpCafe Community

Join our community to engage with fellow bloggers and increase the visibility of your blog.
Join WriteUpCafe