แนวโน้ม ราคา ทองคํา ใน อนาคต 2565
แนวโน้มราคาทองคำในอนาคตจะเป็นอย่างไร ในความท้าทายทางเศรษฐกิจรอบด้าน
ซื้อทองดีไหม? คงเป็นคำถามที่ผู้คนให้ความสนใจ และศึกษาหาข้อมูลเพื่อวางแผนการลงทุนในอนาคต หลังสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ นั้นราคาผันผวนแบบชนิดที่นักลงทุนทั่วทุกสารทิศได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโตเคอร์เรนซี มีสินทรัพย์ไม่กี่ประเภทที่สามารถยืนหยัดอยู่ในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง ณ ขณะนี้ได้ หนึ่งในสินทรัพย์ที่ว่านี้คือ ทองคำ ที่ราคากลับดีดตัวสวนทางกับสินทรัพย์อื่น ๆ ที่พากันติดลบหลังกังวลกับการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) และปัจจัยทางด้านสงคราม ที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นเพราะทองคำเปรียบเสมือนสินทรัพย์สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยอิงมูลค่าจากทุนสำรองระหว่างประเทศ และมูลค่าไม่ผันแปรตามสภาพเศรษฐกิจอีกด้วย
ราคาทองคำกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่
วิกฤติเศรษฐกิจที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้มีหลายปัจจัยที่ส่งสัญญาณเตือนต่อนักลงทุนรวมถึงผู้คนที่ต้องวางแผนทางการเงินหลังจากการเกิดโรคระบาดโควิด19 ได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปแล้วมรสุมที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาคือ Perfect Strom มรสุมทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจคาดเดาความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือภาวะเศรษฐกิจถดถอย วิกฤตทางด้านอาหารและพลังงาน รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ ที่ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งแนวโน้มราคาทองคำ ตลาดหุ้นที่ผันผวน ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่แทบจะไปไม่รอด
สงครามยืดเยื้อระหว่างรัสเซียกับนาโต้
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติมหาอำนาจอย่างรัสเซียที่มีข้อพิพาทกับยูเครนโดยมีองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (Nato) อยู่เบื้องหลัง จะส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามนี้เพราะนาโต้ปัจจุบันมีประเทศกว่า 26 ประเทศเป็นสมาชิก ซึ่งใน 26 ประเทศนี้มีสหรัฐอเมริกา และประเทศยักษ์ใหญ่จากทวีปยุโรปรวมอยู่ด้วย อาทิ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เป็นต้น การสู้รบเริ่มตั้งแต่ต้นปี 2022 จนถึงปัจจุบันโดยไม่มีทีท่าว่าจะสงบลง ทางรัสเซียบุกเข้าโจมตียูเครนที่แสดงท่าทีว่าจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับนาโต้ ทางนาโต้ก็ตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจใส่รัสเซียงดทำการซื้อขาย แต่ปัญหาคือรัสเซียเป็นชาติที่ส่งออกพลังงานหลัก (ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน) ให้กับประเทศทางยุโรป รวมทั้งวิกฤตทางด้านอาหารรัสเซียและยูเครนมีอัตราการส่งออกข้าวสาลีสูงถึง 1 ใน 4 ของการส่งออกทั้งโลก และรัสเซียยังเป็นผู้ผลิตปุ๋ยสูงถึง 50 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็น 13 เปอร์เซ็นต์ของทั่วทั้งโลก หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อไปจะส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ต่อเศรษฐกิจโลก