Disclaimer: This is a user generated content submitted by a member of the WriteUpCafe Community. The views and writings here reflect that of the author and not of WriteUpCafe. If you have any complaints regarding this post kindly report it to us.

ในระบบการเงินของทุกประเทศ จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินทำหน้าที่สำคัญในการ สนับสนุนวงจรการไหลเวียนของเงินให้เกิดความคล่องตัว และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากไม่มีสถาบันการเงิน พ่อค้า นักธุรกิจ ตลอดจนประชาชน ก็จะเกิดความวุ่นวายยุ่งยากในการทำธุรกิจหรือดำเนินชีวิตที่เกี่ยวกับเงิน

สถาบันการเงินที่สำคัญๆ ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

1.ธนาคารกลาง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่ทำหน้าที่ในการรับฝากและให้กู้

เงินแก่ประชาชน แต่ทำหน้าที่ดังกล่าวให้กับธนาคารพาณิชย์และรัฐบาล นอกเหนือจากการ

ดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงิน อันเป็นเรื่องสำคัญ

ของประเทศที่จะต้องมีคนกลางทำหน้าที่เหล่านี้ให้กับธนาคารพาณิชย์และประชาชน

โดยสิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย คือ ตลาดการเงิน โดยเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกรรมเพื่อการกู้ยืมและการลงทุน ซึ่งเงินที่หมุนเวียนในระบบการเงินจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

2.ธนาคารพาณิชย์คือ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ และสาขาธนาคาร

พาณิชย์ต่างประเทศที่เปิดทำการในประเทศไทย ทำการรับฝากและให้กู้ยืมเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมกับผู้ที่ต้องการใช้เงิน กล่าวคือ นำเงินออมของประชาชนไปสู่การใช้เงินของบริษัท ห้างร้าน วิสาหกิจต่างๆ ระบบนี้ช่วยลดความเสี่ยงให้กับกิจการและระบบการเงินตั้งแต่ต้น เพราะหากผู้ขอกู้ยืมเงิน เสนอโครงการที่ไม่มีความแน่นอนทางการเงิน หรือมีความเสี่ยงต่อความอยู่รอดในอนาคต ธนาคารพาณิชย์จะปฏิเสธการปล่อยเงินกู้ เท่ากับช่วยคัดกรองธุรกิจที่ดีๆ เข้าสู่ระบบการเงิน

3.ธนาคารเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะเนื่องจากแต่ละแห่งก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น ธนาคารออมสิน ตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างวิสัยการออมเงินให้กับประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อด าเนินกิจกรรมเฉพาะเรื่องใด

เรื่องหนึ่ง แต่ทุกแห่งก็ยังให้บริการรับฝากและให้กู้ยืมเงินที่ไม่ได้แตกต่างไปจากธนาคารพาณิชย์มากนัก

4.บริษัทประกันชีวิต ถือเป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่ง เพราะให้บริการออมเงินควบคู่กับการให้ความคุ้มครองชีวิต กล่าวคือ ภายในระยะเวลาที่ตกลงไว้กับผู้เอาประกัน บริษัทจะรับเงินเบี้ยประกัน จนถึงเวลาหนึ่ง แล้วจึงจ่ายคืนให้ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยในระหว่างนั้นบริษัทจะจ่ายเงินให้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยเมื่อเกิดภัยกับร่างกายหรือชีวิตของผู้เอาประกัน

5.โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมโดยรับจำนำทรัพย์สิน อาทิ สร้อย แหวน นาฬิกา ทีวีเป็นต้น เป็นการให้การช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ต้องการใช้เงินในระยะสั้น 4 – 5 เดือน เช่น น าเงินไปจ่ายค่าเล่าเรียนของบุตรในตอนเปิดเทอม เป็นต้น อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน นักธุรกิจก็ได้ใช้บริการของโรงรับจำนำมากขึ้น เนื่องจากการกู้ยืมเงินทำได้ง่ายและรวดเร็วเพียงมีทรัพย์สินไปวางประกันเท่านั้น โรงรับจำนำเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี

6 .อื่นๆ อาทิ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฯลฯ เหล่านี้เป็น สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เปิดขึ้นเพื่อกิจกรรมเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สำหรับบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น ทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารพาณิชย์คือรับ ฝากเงิน/กู้ยืมเงินจากประชาชน แล้วนำมาปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจต่างๆด้วย

7.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นสถาบันการเงินกลาง ทำหน้าที่เก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คิดเป็นอัตราส่วนจากเงินรับฝาก นำมาเก็บไว้เป็นกองกลางเพื่อส ารองไว้จ่ายให้กับผู้ฝากเงินกรณีมีสถาบันการเงินที่กล่าวประสบปัญหาต้องปิดกิจการ โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะจ่ายเงินให้กับผู้ฝากเงินและชำระบัญชีสถาบันการเงินนั้นๆ โดยจ่ายตามจำนวนที่ประกาศให้ความคุ้มครอง หากผู้ฝากเงินยังได้รับเงินฝากคืนไม่ครบ ส่วนที่เหลือจะจัดสรรให้ตามส่วน เมื่อสถาบันคุ้มครองเงินฝากทำการชำระบัญชีสถาบันการเงินแห่งนั้นเสร็จสิ้นแล้ว

อีกหนึ่งคำถามยอดฮิต

คำถามยอดฮิต ฝากเงินกับธนาคารไหนดี ?

ธนาคารกลาง หมายถึง ธนาคารใด ?

ฝากเงินกับธนาคารไหนดี ?

1. ฝากเงินสำหรับใช้จ่ายทั่วไป

ผู้ที่ต้องการฝากเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไป ฝากเงินไว้ในบัญชีใหม่ที่แยกออกจากบัญชีเงินเดือน มีความคล่องตัวสูงในการโอน เบิก ถอน สิ่งที่ควรพิจารณานอกเหนือไปจากอัตราดอกเบี้ย ที่แต่ละธนาคารให้แทบจะไม่แตกต่างกันก็คือ สิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์การใช้งานของเรา

2. ฝากเงินเพื่อเป้าหมายระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี

สำหรับใครที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องการฝากเงินเพื่อใช้ในเป้าหมายระยะสั้นที่ไม่เกิน 3 ปี เช่น ฝากเงินเพื่อเก็บเงินเรียนต่อ ฝากเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ ฝากเงินเพื่อใช้เป็นงบในการท่องเที่ยว รวมถึงฝากเงินสะสมเป็นเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ยามจำเป็น ในเป้าหมายระยะสั้นแบบนี้ สิ่งที่ควรมองหาคือ บัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูง สามารถเลือกระยะเวลาในการฝากเงินเองได้ตามความสะดวกของเรา เพื่อให้สามารถเก็บเงินก้อนได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

3. ฝากเงินเพื่อเป้าหมายระยะกลาง-ยาว ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และมีหลายเป้าหมาย

เป้าหมายในการฝากเงินระยะกลาง ไปจนถึงระยะยาวของหลายคนอาจไม่ได้มีแค่เป้าหมายเดียว เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าในอีก 2 ปีต้องการฝากเงินเพื่อดาวน์รถ และในอีก 4 ปีต่อไปต้องฝากเงินเพื่อใช้เป็นค่าเทอมเรียนต่อ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเปิดบัญชีให้ลูก พร้อมต้องการแยกเก็บเป็นบัญชีย่อยตามค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเทอม ค่ากิจกรรม ค่าอุปกรณ์การเรียน

สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาสำหรับการฝากเงินในกลุ่มวัตถุประสงค์นี้ คือการให้ดอกเบี้ย และผลตอบแทนที่สูง มีเครื่องมือในการแยกออมตามเป้าหมายที่ครบอยู่ในบัญชีเดียว และท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจตอนนี้ การเบิกถอนเงินเมื่อไหร่ก็ได้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรมองหา

ในระบบการเงินของทุกประเทศ จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินทำหน้าที่สำคัญในการ สนับสนุนวงจรการไหลเวียนของเงินให้เกิดความคล่องตัว และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากไม่มีสถาบันการเงิน พ่อค้า นักธุรกิจ ตลอดจนประชาชน ก็จะเกิดความวุ่นวายยุ่งยากในการทำธุรกิจหรือดำเนินชีวิตที่เกี่ยวกับเงิน

ธนาคารกลาง หมายถึง ธนาคารใด ?

เป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมและดูแลการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

ฝากเงินธนาคารไหนดี ในประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ

หน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่

1. การออกพันธบัตร

2. การเป็นนายธนาคารของรัฐ

3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์

4. การเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้าย

5. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร

6. การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน

7. การเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ

Website: https://www.dpa.or.th/

Social Link:

https://th-th.facebook.com/dpathailand/

https://www.youtube.com/channel/UC0ZTgeKdFlbGumCyE8OPMng

Login

Welcome to WriteUpCafe Community

Join our community to engage with fellow bloggers and increase the visibility of your blog.
Join WriteUpCafe